เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 2. สัฏฐิเปยยาลวรรค 13-15. พาหิรทุกขฉันทาทิสูตร

สัททะไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
สัททะนั้น
คันธะไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
คันธะนั้น
รสไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในรสนั้น
โผฏฐัพพะไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
โผฏฐัพพะนั้น
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะ
ในธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น”

พาหิรานิจจฉันทาทิสูตรที่ 10-12 จบ

13-15. พาหิรทุกขฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายนอกที่เป็นทุกข์

[180-182] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์
คือ รูปเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในรูปนั้น
สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอทั้ง
หลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น”

พาหิรทุกขฉันทาทิสูตรที่ 13-15 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 2. สัฏฐิเปยยาลวรรค 19. อัชฌัตตาตีตานิจจสูตร

16-18. พาหิรานัตตฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายนอกที่เป็นอนัตตา

[183-185] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา
คือ รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะ
ในรูปนั้น
สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอ
ทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึง
ละฉันทราคะในสิ่งนั้น”

พาหิรานัตตฉันทาทิสูตรที่ 16-18 จบ

19. อัชฌัตตาตีตานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตไม่เที่ยง

[186] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหาที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ฯลฯ
มโนที่เป็นอดีตไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตาตีตานิจจสูตรที่ 19 จบ