เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 1. นันทิกขยวรรค 10. มิจฉาทิฏฐิปหานสูตร

9. โกฏฐิกอนัตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตาแก่พระมหาโกฏฐิกะ

[164] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
... นั่ง ณ ที่สมควร ฯลฯ อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา
คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะ
ในรูปนั้น จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุวิญญาณนั้น จักขุสัมผัส
เป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา เธอพึง
ละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นอนัตตานั้น ฯลฯ
ชิวหาเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในชิวหานั้น ฯลฯ
มโนเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในมโนนั้น ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอพึง
ละฉันทะในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็
เป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นอนัตตานั้น
โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”

โกฏฐิกอนัตตสูตรที่ 9 จบ

10. มิจฉาทิฏฐิปหานสูตร
ว่าด้วยการละมิจฉาทิฏฐิ

[165] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
เมื่อรู้ เห็นอย่างไร จึงละมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :199 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 1. นันทิกขยวรรค 12. อัตตานุทิฏฐิปหานสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยง จึงละ
มิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นรูปโดยความไม่เที่ยง จึงละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นจักขุ-
วิญญาณโดยความไม่เที่ยงจึงละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นจักขุสัมผัสโดยความไม่เที่ยง
จึงละมิจฉาทิฏฐิได้ ฯลฯ เมื่อรู้ เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่
สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยง จึงละมิจฉาทิฏฐิได้
ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จึงละมิจฉาทิฏฐิได้”

มิจฉาทิฏฐิปหานสูตรที่ 10 จบ

11. สักกายทิฏฐิปหานสูตร
ว่าด้วยการละสักกายทิฏฐิ

[166] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างไร จึงละสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัว
ของตน) ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นจักขุโดยความเป็นทุกข์ จึง
ละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้
เห็นจักขุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นจักขุสัมผัส
โดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ ฯลฯ เมื่อรู้ เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความ
เป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้
ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จึงละสักกายทิฏฐิได้”

สักกายทิฏฐิปหานสูตรที่ 11 จบ

12. อัตตานุทิฏฐิปหานสูตร
ว่าด้วยการละอัตตานุทิฏฐิ

[167] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างไร จึงละอัตตานุทิฏฐิได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :200 }