เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 1. นันทิกขยวรรค 8. โกฏฐิกทุกขสูตร

พึงละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่ไม่เที่ยงนั้น
โกฏฐิกะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”

โกฏฐิกอนิจจสูตรที่ 7 จบ

8. โกฏฐิกทุกขสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงความทุกข์แก่พระมหาโกฏฐิกะ

[163] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ฯลฯ อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์
คือ จักขุเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในจักขุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะ
ในรูปนั้น จักขุวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในจักขุวิญญาณนั้น จักขุสัมผัส
เป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในจักขุสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะ
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ฯลฯ
ชิวหาเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในชิวหานั้น ฯลฯ
มโนเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในมโนนั้น ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอพึงละ
ฉันทะในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในมโนวิญญาณนั้น
มโนสัมผัสเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในมโนสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์
เธอพึงละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น
โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”

โกฏฐิกทุกขสูตรที่ 8 จบ