เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 1. นันทิกขยวรรค 6. ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตร

ชิวหาปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
มโนปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ธรรมารมณ์ปรากฏตามความ
เป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใชสุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว (สิ่ง
ทั้งปวง) ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง”

ชีวกัมพวนสมาธิสูตรที่ 5 จบ

6. ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้นในชีวกัมพวัน

[161] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นประกอบความเพียรเถิด เมื่อภิกษุหลีกเร้นอยู่ (สิ่งทั้งปวง)ย่อม
ปรากฏตามความเป็นจริง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าปรากฏตามความเป็นจริง
คือ จักขุปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ รูปปรากฏตามความเป็น
จริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุวิญญาณปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุสัมผัส
ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า
‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
มโนปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ...
มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นประกอบความเพียรเถิด เมื่อภิกษุ
หลีกเร้นอยู่ (สิ่งทั้งปวง)ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง”

ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตรที่ 6 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 1. นันทิกขยวรรค 7. โกฏฐิกอนิจจสูตร

7. โกฏฐิกอนิจจสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงความไม่เที่ยงแก่พระมหาโกฏฐิกะ

[162] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า
พระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกฏฐิกะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในจักขุนั้น รูปไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะ
ในรูปนั้น จักขุวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในจักขุวิญญาณนั้น จักขุสัมผัส
ไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในจักขุสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะ
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยที่ไม่เที่ยงนั้น ฯลฯ
ชิวหาไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในชิวหานั้น รสไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในรสนั้น
ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในชิวหาวิญญาณนั้น ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง
เธอพึงละฉันทะในชิวหาสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะ
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยที่ไม่เที่ยงนั้น ฯลฯ
มโนไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในมโนนั้น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอพึงละ
ฉันทะในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในมโนวิญญาณนั้น
มโนสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในมโนสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :197 }