เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 1. นันทิกขยวรรค 5. ชีวกัมพวนสมาธิสูตร

4. พาหิรอนิจจนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายนอกที่ไม่เที่ยง

[159] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการรูปโดยแยบคาย และจง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการรูปโดยแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการสัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... เธอทั้งหลาย
จงมนสิการธรรมารมณ์โดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์
ตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการธรรมารมณ์โดยแยบคาย และพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เพราะ
สิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น
ทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว”

พาหิรอนิจจนันทิกขยสูตรที่ 4 จบ

5. ชีวกัมพวนสมาธิสูตร
ว่าด้วยการเจริญสมาธิในชีวกัมพวัน

[160] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว (สิ่งทั้งปวง) ย่อมปรากฏตาม
ความเป็นจริง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าปรากฏตามความเป็นจริง
คือ จักขุปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ รูปปรากฏตามความเป็นจริง
ว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุวิญญาณปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุสัมผัส
ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า
‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :195 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
4. จตุตถปัณณาสก์ 1. นันทิกขยวรรค 6. ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตร

ชิวหาปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
มโนปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ธรรมารมณ์ปรากฏตามความ
เป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใชสุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว (สิ่ง
ทั้งปวง) ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง”

ชีวกัมพวนสมาธิสูตรที่ 5 จบ

6. ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้นในชีวกัมพวัน

[161] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นประกอบความเพียรเถิด เมื่อภิกษุหลีกเร้นอยู่ (สิ่งทั้งปวง)ย่อม
ปรากฏตามความเป็นจริง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าปรากฏตามความเป็นจริง
คือ จักขุปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ รูปปรากฏตามความเป็น
จริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุวิญญาณปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุสัมผัส
ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า
‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
มโนปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ...
มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นประกอบความเพียรเถิด เมื่อภิกษุ
หลีกเร้นอยู่ (สิ่งทั้งปวง)ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง”

ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตรที่ 6 จบ