เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 3. ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร

เห็นว่า ‘มโนไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘มโนวิญญาณ
ไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘มโนสัมผัสไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”

ปฐมนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ 2 จบ

3. ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ 2

[148] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นว่า ‘จักขุเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘รูปเป็น
ทุกข์’ เห็นว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นทุกข์’ เห็นว่า
‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุ-
สัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์’ ฯลฯ
เห็นว่า ‘ชิวหาเป็นทุกข์’ ฯลฯ เห็นว่า ‘มโนเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘ธรรมารมณ์
เป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘มโนวิญญาณเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘มโนสัมผัสเป็นทุกข์’ เห็นว่า
‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”

ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ 3 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 5. จตุตถนิพพาน...สูตร

4. ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ 3

[149] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นว่า ‘จักขุเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’
เห็นว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา’ ฯลฯ
เห็นว่า ‘ชิวหาเป็นอนัตตา’ ฯลฯ เห็นว่า ‘มโนเป็นอนัตตา’ เห็นว่า
‘ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘มโนสัมผัส
เป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”

ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ 4 จบ

5. จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ 4

[150] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :182 }