เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 4. เทวทหวรรค 7. อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตร

6. ทุติยนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ 2

[139] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
คือ รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้น ธรรมารมณ์ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ที่มีอยู่ใน
เชตวันนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน รูป
ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจัก
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข”

ทุติยนตุมหากสูตรที่ 6 จบ

7. อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายในไม่เที่ยง

[140] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุ
ก็ไม่เที่ยง จักขุที่เกิดจากเหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ฯลฯ
ชิวหาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาก็ไม่เที่ยง ชิวหาที่เกิด
จากเหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ฯลฯ
มโนไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนก็ไม่เที่ยง มโนที่เกิดจาก
เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :175 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 4. เทวทหวรรค 9. อัชฌัตตานัตตเหตุสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตรที่ 7 จบ

8. อัชฌัตตทุกขเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายในเป็นทุกข์

[141] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
จักขุก็เป็นทุกข์ จักขุที่เกิดจากเหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ฯลฯ
ชิวหาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาก็เป็นทุกข์ ชิวหาที่
เกิดจากเหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ฯลฯ
มโนเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนก็เป็นทุกข์ มโนที่เกิดจาก
เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตทุกขเหตุสูตรที่ 8 จบ

9. อัชฌัตตานัตตเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายในเป็นอนัตตา

[142] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
จักขุก็เป็นอนัตตา จักขุที่เกิดจากเหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ฯลฯ
ชิวหาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาก็เป็นอนัตตา ชิวหา
ที่เกิดจากเหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :176 }