เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 3. คหปติวรรค 9. โลหิจจสูตร

ทีนั้น โลหิจจพราหมณ์ได้มีความคิดดังนี้ว่า
“เป็นการไม่สมควรเลยที่เราจะพึงด่า เหน็บแนม บริภาษพระมหากัจจานะ
เพราะฟังคำของพวกมาณพแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น ทางที่ดี เราควรเข้าไปถาม”
ต่อมา โลหิจจพราหมณ์กับมาณพเหล่านั้นเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึง
ที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้เรียนถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ มาณพผู้หาฟืน
ซึ่งเป็นศิษย์ของข้าพเจ้าจำนวนมากได้มาในที่นี้หรือ”
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “พราหมณ์ มาณพผู้หาฟืนซึ่งเป็นศิษย์ของ
ท่านจำนวนมาก ได้มาในที่นี้”
“ท่านกัจจานะได้สนทนาอะไรบ้างกับมาณพเหล่านั้น”
“พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนาบางอย่างกับมาณพเหล่านั้นเหมือนกัน”
“ท่านกัจจานะได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างไร”
“พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘พราหมณ์เหล่าใดระลึกถึงธรรมดั้งเดิมของพราหมณ์ได้
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีศีลสูงสุด เก่าแก่กว่า
ฯลฯ
อ่อนโยนในสัตว์ทั้งปวง นั้นเป็นทางเพื่อถึงความเป็นพรหม’
พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้แล”
“ท่านกัจจานะได้กล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าไม่คุ้มครองทวาร’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
หนอ บุคคลจึงชื่อว่าไม่คุ้มครองทวาร”
“พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปทางตาแล้วย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก
ย่อมยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิต1อยู่ และไม่รู้ชัด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 3. คหปติวรรค 9. โลหิจจสูตร

เจโตวิมุตติ1และปัญญาวิมุตติ2ตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัด
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น
พราหมณ์ บุคคลชื่อว่าไม่คุ้มครองทวารเป็นอย่างนี้แล”
พราหมณ์กล่าวว่า “ท่านกัจจานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่าน
กัจจานะเรียกบุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวารแล้วแลว่า ‘ไม่คุ้มครองทวาร’ ท่านกัจจานะ
ได้กล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าคุ้มครองทวาร’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่า
คุ้มครองทวาร”
“พราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมไม่ยินดีใน
รูปที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิต3อยู่
และรู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ