เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 3. คหปติวรรค 7. หาลิททกานิสูตร

มโนธาตุ ธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
มโนธาตุ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
มโนธาตุ ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย
ผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด
คหบดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”

โฆสิตสูตรที่ 6 จบ

7. หาลิททกานิสูตร
ว่าด้วยหาลิททกานิคหบดี

[130] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่เรือนตระกูลใกล้ภูเขาสังปวัตตะ
แคว้นอวันตี ครั้งนั้นแล หาลิททกานิคหบดีเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดังนี้ว่า ‘เพราะอาศัยธาตุต่าง ๆ
ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิด’ เพราะอาศัย
ธาตุต่าง ๆ ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิด
เป็นอย่างไร”
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “คหบดี คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทาง
ตาแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้ น่าพอใจ’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
อนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้ไม่น่าพอใจ’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนา
จึงเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :157 }