เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 3. คหปติวรรค 4. ภารทวาชสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
(สูตรนี้ พึงให้พิสดารเหมือนสูตรก่อน)
“คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

นาฬันทสูตรที่ 3 จบ

4. ภารทวาชสูตร
ว่าด้วยพระปิณโฑลภารทวาชะ

[127] สมัยหนึ่ง ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนเสด็จเข้าไปหาท่านพระปิณโฑลภารทวาชะถึงที่อยู่
ได้ทรงสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ตรัสถามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะดังนี้ว่า
“ท่านภารทวาชะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น
มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย
ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะถวายพระพรว่า
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งจิตไว้ในสตรีทั้งหลายคราวมารดาว่า
เป็นมารดา ตั้งจิตไว้ในสตรีทั้งหลายคราวพี่สาวน้องสาวว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ตั้งจิต
ไว้ในสตรีทั้งหลายคราวธิดาว่าเป็นธิดา’
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น
อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :152 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 3. คหปติวรรค 4. ภารทวาชสูตร

“ท่านภารทวาชะ จิตเป็นธรรมชาติโลเลนัก บางครั้งเกิดความโลภในสตรี
ทั้งหลายคราวมารดาบ้าง บางครั้งเกิดความโลภในสตรีทั้งหลายคราวพี่สาวน้องสาว
บ้าง บางครั้งเกิดความโลภในสตรีทั้งหลายคราวธิดาบ้าง
มีอยู่หรือ ท่านภารทวาชะ อย่างอื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้
ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท ฯลฯ และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณากายนี้ขึ้นเบื้องบนแต่พื้นเท้า
ขึ้นไป พิจารณาลงเบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของ
ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า
‘ในร่างกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ไต1 หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม2 ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร3’