เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 2. โลกกามคุณวรรค 10. อุปาทานิยธัมมสูตร

9. สัญโญชนิยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์

[122] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์และสังโยชน์
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร และสังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในรูปนั้นชื่อว่าสังโยชน์ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้นชื่อว่าสังโยชน์”

สัญโญชนิยธัมมสูตรที่ 9 จบ

10. อุปาทานิยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน

[123] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทานและอุปาทาน
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร และอุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
ฉันทราคะในรูปนั้นชื่อว่าอุปาทาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :148 }