เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 2. โลกกามคุณวรรค 4. กามคุณสูตร

‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’
แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง
จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใคร
หนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน
อานนท์นี้แลพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และ
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ
ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน
อานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’
ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถาม
เนื้อความดังนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
แม้หากเธอทั้งหลายจะพึงถามเนื้อความนี้กับเรา ถึงเราเองก็พึงตอบเนื้อความนั้น
อย่างที่อานนท์ได้ตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่งอุทเทสนั้น และเธอ
ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”

โลกันตคมนสูตรที่ 3 จบ

4. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ

[117] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดดังนี้ว่า ‘กามคุณ1 5 ประการที่ใจของเราเคยสัมผัส ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว
แปรผันไปแล้ว จิตของเราเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในกามคุณ 5 ประการที่เป็นปัจจุบันมาก
หรือที่เป็นอนาคตน้อย’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 2. โลกกามคุณวรรค 4. กามคุณสูตร

เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘กามคุณ 5 ประการที่ใจของเราเคยสัมผัส ล่วง
ไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว เราผู้ต้องการประโยชน์ตน พึงทำความ
ไม่ประมาทในกามคุณ 5 นั้นและทำให้สติเป็นเครื่องรักษาจิต’
เพราะเหตุนั้นแล กามคุณ 5 แม้ที่ใจของเธอทั้งหลายเคยสัมผัส ก็ล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว จิตของเธอทั้งหลายเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในกามคุณ 5
ประการที่เป็นปัจจุบันมากหรือที่เป็นอนาคตน้อย
เพราะเหตุนั้นแล กามคุณ 5 แม้ที่ใจของเธอทั้งหลายเคยสัมผัส ก็ล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว เธอทั้งหลายผู้ต้องการประโยชน์ตน พึงทำความไม่
ประมาทในกามคุณ 5 นั้นและทำให้สติเป็นเครื่องรักษาจิต
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญา (ความหมายรู้ในรูป) ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า
‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญา (ความหมายรู้ในรส) ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะ
ว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญา (ความหมายรู้ในธรรมารมณ์) ก็ดับในที่นั้น”
พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษา
กันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด
รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับ
ในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไป
ยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้ว
เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :135 }