เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 1. โยคักเขมิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่ พระผู้มีพระภาคได้
ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นผู้ยืนแอบฟังอยู่ ได้ตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธอ
ได้ฟังธรรมบรรยายนี้หรือไม่”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ได้ฟัง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอจงศึกษาธรรมบรรยายนี้ เธอจงเล่าเรียนธรรมบรรยายนี้ เธอ
จงทรงจำธรรมบรรยายนี้ไว้เถิด เพราะว่าธรรมบรรยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์”

อุปัสสุติสูตรที่ 10 จบ
โยคักเขมิวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. โยคักเขมิสูตร 2. อุปาทายสูตร
3. ทุกขสมุทยสูตร 4. โลกสมุทยสูตร
5. เสยโยหมัสมิสูตร 6. สัญโญชนิยสูตร
7. อุปาทานิยสูตร 8. อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตร
9. พาหิรายตนปริชานนสูตร 10. อุปัสสุติสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 2. โลกกามคุณวรรค 1. ปฐมมารปาสสูตร

2. โลกกามคุณวรรค
หมวดว่าด้วยโลกและกามคุณ
1. ปฐมมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงมาร สูตรที่ 1

[114] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้า
ภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด รูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไปสู่ที่อยู่ของ
มาร ไปสู่อำนาจของมาร ถูกบ่วงมารคล้องไว้ ถูกเครื่องผูกของมารมัดไว้ ถูกมาร
ใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไปสู่อำนาจของมาร ถูกบ่วงมาร
คล้องไว้ ถูกเครื่องผูกของมารมัดไว้ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้
พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรสนั้นอยู่ ภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้
พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :128 }