เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 1. โยคักเขมิกวรรค 5. เสยโยหมัสมิสูตร

เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นสิ่งนั้น
ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จะพึงมีหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นสิ่งนั้น
ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จะพึงมีหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ
แล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

เสยโยหมัสมิสูตรที่ 5 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 1. โยคักเขมิกวรรค 7. อุปาทานิยสูตร

6. สัญโญชนิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์

[109] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์และสังโยชน์
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร และสังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ จักขุชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฉันทราคะในจักขุนั้นชื่อว่าสังโยชน์
ฯลฯ ชิวหาชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฯลฯ มโนชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในมโนนั้นชื่อว่าสังโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
นี้เราเรียกว่า สังโยชน์”

สัญโญชนิยสูตรที่ 6 จบ

7. อุปาทานิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน

[110] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทานและอุปาทาน
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร และอุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ จักขุชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฉันทราคะในจักขุนั้นชื่อว่าอุปาทาน
ฯลฯ ชิวหาชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฯลฯ มโนชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่
อุปาทาน ฉันทราคะในมโนนั้นชื่อว่าอุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เราเรียกว่า อุปาทาน”

อุปาทานิยสูตรที่ 7 จบ