เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 1. โยคักเขมิกวรรค 3. ทุกขสมุทยสูตร

“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ แม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อุปาทายสูตรที่ 2 จบ

3. ทุกขสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งทุกข์

[106] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์1 เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 1. โยคักเขมิกวรรค 3. ทุกขสมุทยสูตร

ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ1 อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติ (ความเกิด) จึงดับ เพราะชาติดับ
ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความ
คร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความ
คับแค้นใจ) จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึง
ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล”

ทุกขสมุทยสูตรที่ 3 จบ