เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 5. ฉฬวรรค 7. ปฏิสัลลานสูตร

6. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ

[99] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริง รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง คือ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูป
ไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘มโนไม่เที่ยง’ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโน-
วิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง”

สมาธิสูตรที่ 6 จบ

7. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้น

[100] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหลีกเร้นแล้ว จงประกอบความเพียรเถิด
ภิกษุผู้หลีกเร้นแล้วย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง คือ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่
เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :110 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
2. ทุติยปัณณาสก์ 5. ฉฬวรรค 8. ปฐมนตุมหากสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหลีกเร้นแล้ว จงประกอบความเพียรเถิด ภิกษุผู้
หลีกเร้นแล้วย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง”

ปฏิสัลลานสูตรที่ 7 จบ

8. ปฐมนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ 1

[101] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
จักขุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้ว
นั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุวิญญาณนั้น จักขุ-
วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุสัมผัสนั้น จักขุสัมผัส
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
ชิวหาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหานั้น ชิวหาที่เธอทั้งหลาย
ละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :111 }