เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 9. อาทิตตสูตร

หากเวทนานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากสัญญานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากสังขารนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากวิญญาณนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว มีแต่สุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่
หยั่งลงสู่ความทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ แต่เพราะ
วิญญาณเป็นทุกข์ มีทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสมอไป
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงบริสุทธิ์ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงบริสุทธิ์อย่างนี้”

มหาลิสูตรที่ 8 จบ

9. อาทิตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน

[61] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของร้อน
เวทนาเป็นของร้อน สัญญาเป็นของร้อน สังขารเป็นของร้อน วิญญาณเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในสังขาร ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อาทิตตสูตรที่ 9 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 10. นิรุตติปถสูตร

10. นิรุตติปถสูตร
ว่าด้วยหลักภาษา

[62] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ 3
ประการนี้ คือ (1) หลักภาษา (2) หลักการตั้งชื่อ (3) หลักการบัญญัติ ไม่ได้
ถูกทอดทิ้ง ไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนคัดค้านแล้ว
หลักการ 3 ประการ เป็นอย่างไร คือ
1.รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
ตั้งชื่อรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่
เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’
เวทนาใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกเวทนานั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติเวทนานั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า
‘จักมี’
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกสังขารนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อสังขารนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติสังขารเหล่านั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกสังขาร
เหล่านั้นว่า ‘จักมี’
วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติวิญญาณนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกวิญญาณ
นั้นว่า ‘จักมี’
2. รูปยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’ ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
‘จักมี’ และบัญญัติรูปนั้นว่า ‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’
ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :100 }