เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 9. อาทิตตสูตร

สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในเวทนา เพราะกำหนัดจึงถูกเวทนาผูกไว้ เพราะถูกเวทนา
ผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้
หากสัญญานี้ ฯลฯ
หากสังขารนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์
ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในสังขาร แต่เพราะสังขาร
เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในสังขาร เพราะกำหนัดจึงถูกสังขารผูกไว้ เพราะถูกสังขาร
ผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้
หากวิญญาณนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์
ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในวิญญาณ แต่เพราะ
วิญญาณเป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในวิญญาณ เพราะกำหนัดจึงถูกวิญญาณผูกไว้ เพราะ
ถูกวิญญาณผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ส่วนเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็น
อย่างไร สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยบริสุทธิ์อย่างไร”
“มหาลิ หากรูปนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว มีแต่สุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข
ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะรูป
เป็นทุกข์ มีทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัดจึงบริสุทธิ์ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงบริสุทธิ์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :98 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 9. อาทิตตสูตร

หากเวทนานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากสัญญานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากสังขารนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากวิญญาณนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว มีแต่สุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่
หยั่งลงสู่ความทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ แต่เพราะ
วิญญาณเป็นทุกข์ มีทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสมอไป
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงบริสุทธิ์ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงบริสุทธิ์อย่างนี้”

มหาลิสูตรที่ 8 จบ

9. อาทิตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน

[61] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของร้อน
เวทนาเป็นของร้อน สัญญาเป็นของร้อน สังขารเป็นของร้อน วิญญาณเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในสังขาร ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อาทิตตสูตรที่ 9 จบ