เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 7. อนันตตลักขณสูตร

นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา”
สัมมาสัมพุทธสูตรที่ 6 จบ

7. อนัตตลักขณสูตร1
ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา

[59] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกพระปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า
ฯลฯ แล้วได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ไม่พึงเป็น
ไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่า
ได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และ
บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่พึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่อ
อาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ไม่พึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารว่า ‘สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะสังขารเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 7. อนันตตลักขณสูตร

และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารว่า ‘สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่า
ได้เป็นอย่างนั้น’
วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า ‘วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า ‘วิญญาณของ
เราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”