เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 6.สัมมาสัมพุทธสูตร

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะ
คลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นเวทนา บัณฑิตจึงเรียกว่า ‘พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า’
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย ฯลฯ เราก็เรียกว่า
‘ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา’
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะ
คลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นสัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
บัณฑิตจึงเรียกว่า ‘‘พระสัมมาสัมพุทธเจ้า’
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ เราก็เรียกว่า ‘ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา’
ในเรื่องนั้นจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร คือ ระหว่างพระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญามีอะไรต่างกัน”
ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระ
ภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาค
เท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง ภิกษุทั้งหลายฟังต่อ
จากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทำทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ทำให้รู้จักทางที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก บอกทางที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้จักทาง รู้แจ้งทาง
ฉลาดในทาง ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเหล่าสาวกในบัดนี้ เป็นผู้ดำเนินไปตามทางอยู่
เป็นผู้ตามมาในภายหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :93 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 7. อนันตตลักขณสูตร

นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา”
สัมมาสัมพุทธสูตรที่ 6 จบ

7. อนัตตลักขณสูตร1
ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา

[59] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกพระปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า
ฯลฯ แล้วได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ไม่พึงเป็น
ไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่า
ได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และ
บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่พึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่อ
อาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ไม่พึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารว่า ‘สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะสังขารเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ