เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 2. เทวทหสูตร

แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวก
ท่านทรงเห็นโทษอะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความ
กระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะ
รูปนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในเวทนา ...
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในสัญญา ...
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ฯลฯ ไม่ปราศจากความทะยาน
อยากในสังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก
ความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
พระศาสดาของพวกเรา ทรงเห็นโทษนี้แลจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป
... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’
แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน
ทรงเห็นอานิสงส์อะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :9 }