เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 5. สัตตัฏฐานสูตร

เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาจึงมี
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา สภาพที่เวทนา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คุณแห่งเวทนา โทษ
แห่งเวทนา และเครื่องสลัดออกจากเวทนาอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
สัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญา 6 ประการนี้ ได้แก่

1. รูปสัญญา 2. สัททสัญญา
3. คันธสัญญา 4. รสสัญญา
5. โผฏฐัพพสัญญา 6. ธัมมสัญญา

นี้เรียกว่า สัญญา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :89 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 5. สัตตัฏฐานสูตร

อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา คือ
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
สังขาร เป็นอย่างไร
คือ เจตนา 6 ประการนี้ ได้แก่
1. รูปสัญเจตนา ฯลฯ 6. ธัมมสัญเจตนา
นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารจึงมี
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งสังขาร สภาพที่สังขาร
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งสังขาร ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสังขารทั้งหลาย นี้เป็นเครื่องสลัดออก
จากสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ความดับแห่งสังขาร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ฯลฯ ปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
ปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความ
ปรากฏอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :90 }