เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 4. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

4. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น)
5. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย)
6. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ)
นี้เรียกว่า วิญญาณ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณจึงมี เพราะความ
ดับแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณจึงมี
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้แล้วปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้แล้วเป็น
ผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป ไม่ยึดมั่นถือมั่น
วิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก”

อุปาทานปริปวัตตนสูตรที่ 4 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 5. สัตตัฏฐานสูตร

5. สัตตัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ 7 ประการ

[57] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ 7 ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี 3 วิธี
เราเรียกว่า ‘อุดมบุรุษ ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ 7 ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. รู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และเครื่องสลัดออก
จากรูป
2. รู้ชัดเวทนา ฯลฯ
3. รู้ชัดสัญญา ฯลฯ
4. รู้ชัดสังขาร ฯลฯ
5. รู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ โทษ
แห่งวิญญาณ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ
รูป เป็นอย่างไร
คือ มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4
นี้เรียกว่า รูป
เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความเกิดขึ้นแห่งรูปจึงมี เพราะความดับแห่ง
อาหาร ความดับแห่งรูปจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :87 }