เมนู

ระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 4.อุปาทานปริปวัตตนสูตร

ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
ไม่ปรุงแต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปตามลำดับ”

อุทานสูตรที่ 3 จบ

4. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์เวียนรอบ

[56] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ โดยเวียนรอบ 4 ครั้ง
ตามความเป็นจริง ตราบนั้น เราก็ไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :81 }