เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 2. เทวทหสูตร

ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่านมีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’ ธรรมทั้งหลาย
อันพวกท่านได้ฟังดี เรียนดี ใส่ใจดี ทรงจำดี รู้แจ้งดีแล้วด้วยปัญญาบ้างหรือ’
พวกท่านเมื่อกล่าวอย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มี
คำกล่าวเช่นนั้นและการคล้อยตามที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ท่านขอรับ แม้พวกกระผมมาจากที่ไกลก็เพื่อจะรู้เนื้อความแห่งพระภาษิต
นั้นในสำนักท่านสารีบุตร ขอโอกาส เฉพาะท่านสารีบุตรเท่านั้นที่จะอธิบายเนื้อ
ความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจัก
กล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง ผู้จะถามปัญหากับภิกษุผู้ไปยัง
ประเทศต่าง ๆ มีอยู่ หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่าน
มีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดาของเรามีปกติตรัส
สอนให้กำจัดฉันทราคะ1’
แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน
มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งไรเล่า’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดามีปกติตรัสสอนให้
กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร พระศาสดา
มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 2. เทวทหสูตร

แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวก
ท่านทรงเห็นโทษอะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความ
กระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะ
รูปนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในเวทนา ...
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในสัญญา ...
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ฯลฯ ไม่ปราศจากความทะยาน
อยากในสังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก
ความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
พระศาสดาของพวกเรา ทรงเห็นโทษนี้แลจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป
... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’
แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน
ทรงเห็นอานิสงส์อะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :9 }