เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 3. อุทานสูตร

เธอไม่รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นทุกข์’ ... เวทนาที่เป็น
ทุกข์ ... สัญญาที่เป็นทุกข์ ... สังขารที่เป็นทุกข์ ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์
ตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นทุกข์’
เธอไม่รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’ ... เวทนาที่
เป็นอนัตตา ... สัญญาที่เป็นอนัตตา ... สังขารที่เป็นอนัตตา ... ไม่รู้ชัดวิญญาณ
ที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นอนัตตา’
เธอไม่รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘รูปถูกปัจจัยปรุงแต่ง’
... เวทนาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สัญญาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สังขารที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง’
เธอไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปจักมี’ ... ‘เวทนาจักมี’ ... ‘สัญญาจักมี’
... ‘สังขารจักมี’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณจักมี’
ภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ...
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
เธอรู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ ... ‘เวทนาไม่เที่ยง’ ...
‘สัญญาไม่เที่ยง’ ... ‘สังขารไม่เที่ยง’ รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า
‘วิญญาณไม่เที่ยง’
รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์ ...
รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตา ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นอนัตตา ...
รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็น
จริงว่า ‘วิญญาณถูกปัจจัยปรุงแต่ง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :79 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 3. อุทานสูตร

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปจักมี’ ... ‘เวทนาจักมี’ ... ‘สัญญาจักมี’ ...
‘สังขารจักมี’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณจักมี’
เพราะความไม่มีรูป เพราะความไม่มีเวทนา เพราะความไม่มีสัญญา เพราะ
ความไม่มีสังขาร เพราะความไม่มีวิญญาณ ภิกษุนั้นเมื่อน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้า
เราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของ
เราก็จักไม่มี’ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ก็เมื่อภิกษุรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปตามลำดับ”
“ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสะดุ้งในที่ไม่ควรสะดุ้ง ก็ปุถุชนผู้ไม่
ได้สดับ ย่อมสะดุ้งอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรม-
สังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ไม่สะดุ้งในที่ไม่ควรสะดุ้ง ก็อริยสาวกผู้ได้สดับ
ไม่สะดุ้งอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจัก
ไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ภิกษุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา การไป
การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา
สัญญา สังขาร’
ภิกษุ ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :80 }