เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 5. อัตตทีปวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความ
เพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เรา
เรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’

ทุติยนันทิกขยสูตรที่ 10 จบ
อัตตทีปวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อัตตทีปสูตร 2. ปฏิปทาสูตร
3. อนิจจสูตร 4. ทุติยอนิจจสูตร
5. สมนุปัสสนาสูตร 6. ขันธสูตร
7. โสณสูตร 8. ทุติยโสณสูตร
9. นันทิกขยสูตร 10. ทุติยนันทิกขยสูตร

มูลปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในมูลปัณณาสก์นี้ คือ

1. นกุลปิตุวรรค 2. อนิจจวรรค
3. ภารวรรค 4. นตุมหากวรรค
5. อัตตทีปวรรค

รวม 5 วรรค เรียกว่า ปฐมปัณณาสก์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 1. อุปยวรรค 1. อุปยสูตร

มัชฌิมปัณณาสก์
1. อุปยวรรค
หมวดว่าด้วยความเข้าถึง
1. อุปยสูตร
ว่าด้วยความเข้าถึง

[53] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเข้าถึง1 ไม่ใช่ความหลุดพ้น
ความไม่เข้าถึง เป็นความหลุดพ้น
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูป
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา
การไป การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป
เวทนา สัญญา สังขาร’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความ
กำหนัดได้ อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี
ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ...