เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 5. อัตตทีปวรรค 9. นันทิกขยสูตร

9. นันทิกขยสูตร
ว่าด้วยการสิ้นความเพลิดเพลิน

[51] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่
เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) เมื่อเธอเห็นโดยชอบ
ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความ
กำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด
จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นเวทนาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมา-
ทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้น
ความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ
เพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นสัญญาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
ภิกษุเห็นสังขารที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้ง
ความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นวิญญาณที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของเธอนั้นเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น
ทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว”

นันทิกขยสูตรที่ 9 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 5. อัตตทีปวรรค 10. ทุติยนันทิกขยสูตร

10. ทุติยนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยการสิ้นความเพลิดเพลิน สูตรที่ 2

[52] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการรูปโดยแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการรูป
โดยแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง ก็ย่อม
เบื่อหน่ายในรูป เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความ
กำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด
จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการเวทนาโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงแห่งเวทนาตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการเวทนาโดยแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งเวทนาตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความ
เพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการสัญญาโดยแยบคาย ฯลฯ
เธอทั้งหลายจงมนสิการสังขารโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งสังขารตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการสังขารโดยแยบคาย และพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงแห่งสังขารตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในสังขาร เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้น
ดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการวิญญาณโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการวิญญาณโดยแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :73 }