เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 5. อัตตทีปวรรค 8. ทุติยโสณสูตร

“โสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดรูป ไม่รู้ชัดความ
เกิดขึ้นแห่งรูป ไม่รู้ชัดความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป
ไม่รู้ชัดเวทนา ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ไม่รู้ชัดความดับแห่งเวทนา
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
ไม่รู้ชัดสัญญา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสังขาร ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดวิญญาณ ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัด
ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความ
เป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน
โสณะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดรูป รู้ชัดความเกิด
ขึ้นแห่งรูป รู้ชัดความดับแห่งรูป รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป
รู้ชัดเวทนา ...
รู้ชัดสัญญา ...
รู้ชัดสังขาร ...
รู้ชัดวิญญาณ รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยโสณสูตรที่ 8 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 5. อัตตทีปวรรค 9. นันทิกขยสูตร

9. นันทิกขยสูตร
ว่าด้วยการสิ้นความเพลิดเพลิน

[51] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่
เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) เมื่อเธอเห็นโดยชอบ
ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความ
กำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด
จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นเวทนาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมา-
ทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้น
ความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ
เพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นสัญญาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
ภิกษุเห็นสังขารที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้ง
ความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นวิญญาณที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของเธอนั้นเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น
ทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว”

นันทิกขยสูตรที่ 9 จบ