เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 2. เทวทหสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายบอกลาสารีบุตร
แล้วหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังไม่ได้บอกลาท่านพระสารีบุตร”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปบอกลาสารีบุตรเสียก่อน สารีบุตรเป็นผู้
อนุเคราะห์1เพื่อนภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ในมณฑปเล็ก ๆ ซึ่งมีตะไคร่น้ำขึ้นปกคลุม
แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม ยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้ว
พากันเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านพระสารีบุตร พวกกระผมต้องการจะไปยังปัจฉาภูมชนบทเพื่ออยู่อาศัย พวก
กระผมกราบทูลลาพระศาสดาแล้ว”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิต2บ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต3บ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิต4บ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิต5บ้าง
ผู้จะถามปัญหากับภิกษุผู้ไปยังประเทศต่าง ๆ มีอยู่ หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้6


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 1. นกุลปิตุวรรค 2. เทวทหสูตร

ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่านมีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’ ธรรมทั้งหลาย
อันพวกท่านได้ฟังดี เรียนดี ใส่ใจดี ทรงจำดี รู้แจ้งดีแล้วด้วยปัญญาบ้างหรือ’
พวกท่านเมื่อกล่าวอย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มี
คำกล่าวเช่นนั้นและการคล้อยตามที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ท่านขอรับ แม้พวกกระผมมาจากที่ไกลก็เพื่อจะรู้เนื้อความแห่งพระภาษิต
นั้นในสำนักท่านสารีบุตร ขอโอกาส เฉพาะท่านสารีบุตรเท่านั้นที่จะอธิบายเนื้อ
ความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจัก
กล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง ผู้จะถามปัญหากับภิกษุผู้ไปยัง
ประเทศต่าง ๆ มีอยู่ หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่าน
มีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดาของเรามีปกติตรัส
สอนให้กำจัดฉันทราคะ1’
แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน
มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งไรเล่า’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดามีปกติตรัสสอนให้
กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร พระศาสดา
มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’