เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 5. อัตตทีปวรรค 6. ขันธสูตร

2. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
3. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
4. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า สังขารขันธ์
5. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ 5 ประการ

อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า
รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วย
อาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์
(อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วย
อาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า สัญญูปาทานขันธ์
(อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่
อุปาทาน นี้เรียกว่า สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ
ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เรียกว่า วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ 5 ประการ”

ขันธสูตรที่ 6 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 5. อัตตทีปวรรค 7. โสณสูตร

7. โสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร

[49] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรของคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโสณคหบดีบุตรดังนี้ว่า
“โสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศ
กว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’
ด้วยรูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร
นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยเวทนาที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยสัญญาที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยสังขารที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยวิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ
แปรผันเป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
โสณะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เรา
เลิศกว่าเขา’ บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ บ้าง ด้วยรูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา
ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการเห็นความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :68 }