เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 5. อัตตทีปวรรค 3. อนิจจสูตร

เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เมื่อ
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากรูปธาตุ ก็เป็นจิตที่หลุดพ้น
แล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากเวทนาธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากสัญญาธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากสังขารธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากวิญญาณธาตุ ก็เป็นจิตที่หลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”1

อนิจจสูตรที่ 3 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 5. อัตตทีปวรรค 4.ทุติยอนิจจสูตร

4. ทุติยอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง สูตรที่ 2

[46] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ การตามเห็นส่วน
เบื้องต้น (อดีต) ก็ไม่มี เมื่อการตามเห็นส่วนเบื้องต้นไม่มี การตามเห็นส่วนเบื้อง
ปลาย (อนาคต) ก็ไม่มี เมื่อการตามเห็นส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่าง
แรงกล้าก็ไม่มี เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตก็คลายกำหนัดในรูป ฯลฯ
ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร จิตก็คลายกำหนัดในวิญญาณ
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น
จึงสันโดษ เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยอนิจจสูตรที่ 4 จบ