เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 4. นตุมหากวรรค 6.ทุติยอานันทสูตร

“ดีละ ดีละ อานนท์ รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้น
แห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว
เวทนาใด ...
สัญญาใด ...
สังขารเหล่าใด ...
วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ
แล้ว ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏแล้ว เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏแล้ว
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งธรรม
เหล่านี้ปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
อานนท์ รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นจักปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
เวทนาใด ฯลฯ
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใด ฯลฯ
วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้จักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรม
เหล่านี้จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
อานนท์ รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้นปรากฏ ความ
เสื่อมไปแห่งรูปปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :55 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 4. นตุมหากวรรค 7. อนุธัมมสูตร

สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใด ฯลฯ
วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่านี้
ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”

ทุติยอานันทสูตรที่ 6 จบ

7. อนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม

[39] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูป มากด้วยความ
เบื่อหน่ายในเวทนา มากด้วยความเบื่อหน่ายในสัญญา มากด้วยความเบื่อหน่าย
ในสังขาร มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอเป็นผู้มากด้วยความ
เบื่อหน่ายในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร เป็นผู้มากด้วย
ความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ กำหนดรู้วิญญาณ เธอเมื่อกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร เมื่อกำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อม
พ้นจากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้น
จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้น
จากทุกข์’

อนุธัมมสูตรที่ 7 จบ