เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 4. นตุมหากวรรค 3. อัญญตรภิกขุสูตร

ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา
... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้ดีแล้ว ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ฯลฯ
ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา
... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป
ต่อมา ภิกษุนั้นหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม1 อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์2 ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย3

อัญญตรภิกขุสูตรที่ 3 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 4. นตุมหากวรรค 4. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร

4. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา สูตรที่ 2

[36] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็หมกมุ่นถึงสิ่งนั้น
หมกมุ่นถึงสิ่งใด ก็ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ไม่หมกมุ่นถึงสิ่งนั้น
ไม่หมกมุ่นถึงสิ่งใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็หมกมุ่นถึงรูปนั้น หมกมุ่น
ถึงรูปใด ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ...
ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น หมกมุ่น
ถึงวิญญาณใด ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่หมกมุ่นถึงรูปนั้น ไม่หมกมุ่นถึงรูปใด ก็ไม่ถึง
การนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่
ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น ไม่
หมกมุ่นถึงวิญญาณใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :50 }