เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 4. นตุมหากวรรค 3. อัญญตรภิกขุสูตร

เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สังขารไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่
เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข”1

ทุติยนตุมหากสูตรที่ 2 จบ

3. อัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา

[35] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น
ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้า
ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้า
ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 4. นตุมหากวรรค 3. อัญญตรภิกขุสูตร

ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา
... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้ดีแล้ว ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ฯลฯ
ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา
... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป
ต่อมา ภิกษุนั้นหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม1 อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์2 ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย3

อัญญตรภิกขุสูตรที่ 3 จบ