เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค 10. อฆมูลสูตร

ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ...
แห่งสังขาร ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”1

อุปปาทสูตรที่ 9 จบ

10. อฆมูลสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งทุกข์

[31] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ และมูลเหตุแห่ง
ทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ทุกข์คือรูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือสัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือ
วิญญาณ
นี้เรียกว่า ทุกข์
มูลเหตุแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
1. กามตัณหา
2. ภวตัณหา
3. วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า มูลเหตุแห่งทุกข์”

อฆมูลสูตรที่ 10 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

11. ปภังคุสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่แตกสลาย

[32] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งที่แตกสลาย และสิ่ง
ที่ไม่แตกสลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อะไรเล่าเป็นสิ่งที่แตกสลาย และ อะไรเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
คือ รูปจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งรูปนั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
เวทนาจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งเวทนานั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
สัญญาจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ...
สังขารจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งสังขารเหล่านั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
วิญญาณจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งวิญญาณนั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย”

ปภังคุสูตรที่ 11 จบ
ภารวรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ภารสูตร 2. ปริญญาสูตร
3. อภิชานสูตร 4. ฉันทราคสูตร
5. อัสสาทสูต 6. ทุติยอัสสาทสูตร
7. ตติยอัสสาทสูตร 8. อภินันทนสูตร
9. อุปปาทสูตร 10. อฆมูลสูตร
11. ปภังคุสูตร