เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค 8. อภินันทนสูตร

ถ้าโทษของวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ
แต่เพราะโทษของวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ
ถ้าเครื่องสลัดออกจากวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออก
จากวิญญาณ แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
สลัดออกจากวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษ
โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทาน-
ขันธ์ 5 ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้น สัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป
พ้นไป มีใจปราศจากแดน1อยู่ไม่ได้เลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออกไป หลุดไป พ้นไป มีใจปราศจาก
แดนอยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์”2

ตติยอัสสาทสูตรที่ 7 จบ

8. อภินันทนสูตร
ว่าด้วยความเพลิดเพลินขันธ์

[29] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์
ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินเวทนา ...
ผู้ที่เพลิดเพลินสัญญา ...
ผู้ที่เพลิดเพลินสังขาร ...


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค 9. อุปปาทสูตร

ผู้ที่เพลิดเพลินวิญญาณ ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ที่ไม่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินเวทนา ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสัญญา ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสังขาร ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินวิญญาณ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์
เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”1

อภินันทนสูตรที่ 8 จบ

9. อุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งขันธ์

[30] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเวทนา ... แห่ง
สัญญา ... แห่งสังขาร ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งวิญญาณ นี้เป็น
ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ