เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค 4. ฉันทราคสูตร

บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละวิญญาณได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์”

อภิชานสูตรที่ 3 จบ

4. ฉันทราคสูตร
ว่าด้วยการละฉันทราคะ

[25] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในรูป
ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละรูปนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในเวทนา ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
เวทนานั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสัญญา ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
สัญญานั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสังขาร ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
สังขารนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในวิญญาณ ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจัก
ละวิญญาณนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไป
แล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”1

ฉันทราคสูตรที่ 4 จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค 5. อัสสาทสูตร

5. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์

[26] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้
ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ1 อะไรเป็นโทษ2 อะไรเป็นเครื่อง
สลัดออกจากรูป
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสัญญา
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ’
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดต่อไปดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูป
เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ3 ในรูป
นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของเวทนา สภาพที่เวทนา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของเวทนา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ