เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [8. นาคสังยุต] 2.ปณีตตรสูตร

8. นาคสังยุต
1. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยกำเนิดนาคล้วน ๆ

[342] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค 4 ประเภทนี้
กำเนิดของนาค 4 ประเภท อะไรบ้าง คือ
1. นาคที่เป็นอัณฑชะ (เกิดในไข่)
2. นาคที่เป็นชลาพุชะ (เกิดในครรภ์)
3. นาคที่เป็นสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคลหรือที่ชื้นแฉะ)
4. นาคที่เป็นโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น)
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค 4 ประเภทนี้”

สุทธิกสูตรที่ 1 จบ

2. ปณีตตรสูตร
ว่าด้วยกำเนิดนาคที่ประณีตกว่ากัน

[343] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค 4 ประเภทนี้
กำเนิดของนาค 4 ประเภท อะไรบ้าง คือ
1. นาคที่เป็นอัณฑชะ 2. นาคที่เป็นชลาพุชะ
3. นาคที่เป็นสังเสทชะ 4. นาคที่เป็นโอปปาติกะ
ในนาค 4 ประเภทนั้น นาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะ
ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :350 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [8. นาคสังยุต] 3. อุโปสถสูตร

นาคที่เป็นสังเสทชะ และโอปปาติกะ ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะและ
ชลาพุชะ
นาคที่เป็นโอปปาติกะประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ และสังเสทชะ
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค 4 ประเภทนี้”

ปณีตตรสูตรที่ 2 จบ

3. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ

[344] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวก
ในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวกในโลกนี้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน พวกเราได้เป็นผู้มีปกติกระทำกรรมทั้ง 2 (1) ด้วยกาย
วาจา และใจ พวกเรานั้นมีปกติกระทำกรรมทั้ง 2 ด้วยกาย วาจา และใจ
หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ ถ้าวันนี้
พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อทำได้อย่างนี้ พวกเราหลัง
จากตายแล้วก็จะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เชิญพวกเราประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา
และใจในบัดนี้เถิด’
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวกในโลกนี้รักษา
อุโบสถและสละกายได้”

อุโปสถสูตรที่ 3 จบ