เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค 2. ปริญญาสูตร

1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
2. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
3. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
นี้เรียกว่า การถือภาระ
การวางภาระ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า การวางภาระ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ขันธ์ 5 คือภาระ บุคคลคือผู้แบกภาระ
การถือภาระเป็นทุกข์ในโลก การวางภาระเป็นสุขในโลก
บุคคลวางภาระหนักได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่นไว้
ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก สิ้นความอยาก ดับสนิทแล้ว”

ภารสูตรที่ 1 จบ

2. ปริญญาสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้

[23] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้
และการกำหนดรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนาเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สัญญา
เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สังขารเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ วิญญาณเป็นธรรมที่ควร
กำหนดรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :35 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค 3. อภิชานสูตร

เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
การกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า การกำหนดรู้”

ปริญญาสูตรที่ 2 จบ

3. อภิชานสูตร
ว่าด้วยผู้รู้ยิ่ง

[24] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้
ไม่คลายกำหนัด ไม่ละรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละเวทนา เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ... สัญญา ฯลฯ
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสังขาร เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละวิญญาณ เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง1 กำหนดรู้2 คลายกำหนัด3 ละรูปได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ