เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค 2. ปริญญาสูตร

1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
2. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
3. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
นี้เรียกว่า การถือภาระ
การวางภาระ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า การวางภาระ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ขันธ์ 5 คือภาระ บุคคลคือผู้แบกภาระ
การถือภาระเป็นทุกข์ในโลก การวางภาระเป็นสุขในโลก
บุคคลวางภาระหนักได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่นไว้
ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก สิ้นความอยาก ดับสนิทแล้ว”

ภารสูตรที่ 1 จบ

2. ปริญญาสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้

[23] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้
และการกำหนดรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนาเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สัญญา
เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สังขารเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ วิญญาณเป็นธรรมที่ควร
กำหนดรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :35 }