เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [6. กิเลสสังยุต] 9. ธาตุสูตร

ฉันทราคะในรสสัญเจตนา ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพสัญเจตนา ...
ฉันทราคะในธัมมสัญเจตนา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

สัญเจตนาสูตรที่ 7 จบ

8. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[329] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปตัณหา นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในสัททตัณหา ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธตัณหา ...
ฉันทราคะในรสตัณหา ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพตัณหา ...
ฉันทราคะในธัมมตัณหา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

ตัณหาสูตรที่ 8 จบ

9. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ

[330] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในปฐวีธาตุ นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :339 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [6. กิเลสสังยุต] 10. ขันธสูตร

ฉันทราคะในอาโปธาตุ ฯลฯ
ฉันทราคะในเตโชธาตุ ...
ฉันทราคะในวาโยธาตุ ...
ฉันทราคะในอากาสธาตุ ...
ฉันทราคะในวิญญาณธาตุ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ 6 ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

ธาตุสูตรที่ 9 จบ

10. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[331] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูป นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ฯลฯ
ฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ 6 ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

ขันธสูตรที่ 10 จบ
กิเลสสังยุต จบ