เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 2. อนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ความดับพระองค์ตรัสเรียกว่า ‘นิโรธ’ ความดับแห่งธรรมเหล่าไหน พระองค์ตรัส
เรียกว่า ‘นิโรธ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มี
ความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งรูปนั้น เรา
เรียกว่า ‘นิโรธ’
เวทนาไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งเวทนานั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ’
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งสังขารนั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ’
วิญญาณไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งวิญญาณนั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ”

อานันทสูตรที่ 10 จบ
อนิจจวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อนิจจสูตร 2. ทุกขสูตร
3. อนัตตสูตร 4. ยทนิจจสูตร
5. ยังทุกขสูตร 6. ยทนัตตาสูตร
7. สเหตุอนิจจสูตร 8. สเหตุทุกขสูตร
9. สเหตุอนัตตสูตร 10. อานันทสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 3. ภารวรรค 1. ภารสูตร

3. ภารวรรค
หมวดว่าด้วยภาระ
1. ภารสูตร
ว่าด้วยภาระ

[22] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภาระ ผู้แบกภาระ
การถือภาระ และการวางภาระแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ภาระ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ภาระนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความยึดมั่น) 5 ประการ
อุปาทานขันธ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
นี้เรียกว่า ภาระ
ผู้แบกภาระ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ผู้แบกภาระนั้น ได้แก่ บุคคลผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
นี้เรียกว่า ผู้แบกภาระ
การถือภาระ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :34 }