เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [5. อุปปาทสังยุต] 3. วิญญาณสูตร

2. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป

[313] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งสัททะ ฯลฯ แห่งคันธะ ... แห่งรส ...
แห่งโผฏฐัพพะ ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสัททะ ฯลฯ แห่งคันธะ ...
แห่งรส ... แห่งโผฏฐัพพะ ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”1

รูปสูตรที่ 2 จบ

3. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ

[314] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [5. อุปปาทสังยุต] 5. สัมผัสสชาสูตร

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งมโนวิญญาณ ฯลฯ เป็นความปรากฏ
แห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งมโนวิญญาณ ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

วิญญาณสูตรที่ 3 จบ

4. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส

[315] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งมโนสัมผัส ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่ง
ชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่
ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งมโนสัมผัส ... เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

สัมผัสสสูตรที่ 4 จบ

5. สัมผัสสชาสูตร
ว่าด้วยสัมผัสสชาเวทนา

[316] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :330 }