เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [4. โอกกันตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชน
ได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่ง
เปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า ‘ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘อริยสาวกผู้
เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ขันธสูตรที่ 10 จบ
โอกกันตสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

1. จักขุสูตร 2. รูปสูตร
3. วิญญาณสูตร 4. สัมผัสสสูตร
5. สัมผัสสชาสูตร 6. รูปสัญญาสูตร
7. รูปสัญเจตนาสูตร 8. รูปตัณหาสูตร
9. ปฐวีธาตุสูตร 10. ขันธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [ 5. อุปปาทสังยุต] 1. จักขุสูตร

5. อุปปาทสังยุต
1. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ

[312] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งโสตะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งฆานะ ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งชิวหา ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งกาย ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งมโน นี้เป็นความ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งจักขุ นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ... แห่งโสตะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งฆานะ ...
ความดับ ... แห่งชิวหา ...
ความดับ ... แห่งกาย ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งมโน นี้เป็นความดับแห่งทุกข์
เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”1

จักขุสูตรที่ 1 จบ