เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [4. โอกกันตสังยุต] 10. ขันธสูตร

9. ปฐวีธาตุสูตร
ว่าด้วยปฐวีธาตุ

[310] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ไม่เที่ยง มี
ความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ฯลฯ
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ...
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ...
อากาสธาตุ (ธาตุอากาศ) ...
วิญญาณธาตุ (ธาตุวิญญาณ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ปฐวีธาตุสูตรที่ 9 จบ

10. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[311] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
เวทนาไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัญญา ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
วิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :326 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [4. โอกกันตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชน
ได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่ง
เปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า ‘ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘อริยสาวกผู้
เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ขันธสูตรที่ 10 จบ
โอกกันตสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

1. จักขุสูตร 2. รูปสูตร
3. วิญญาณสูตร 4. สัมผัสสสูตร
5. สัมผัสสชาสูตร 6. รูปสัญญาสูตร
7. รูปสัญเจตนาสูตร 8. รูปตัณหาสูตร
9. ปฐวีธาตุสูตร 10. ขันธสูตร