เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 2. อนิจจวรรค 10. อานันทสูตร

วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็เป็นทุกข์ วิญญาณเกิด
จากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักมีสุขเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”1

สเหตุทุกขสูตรที่ 8 จบ

9. สเหตุอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตาพร้อมทั้งเหตุปัจจัย

[20] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้
รูปเกิดขึ้นก็เป็นอนัตตา รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักมีอัตตาเล่า
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็เป็นอนัตตา วิญญาณ
เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักมีอัตตาเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”2

สเหตุอนัตตสูตรที่ 9 จบ

10. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[21] เรื่องเกิดขึ้นที่อารามในกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ 2. อนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ความดับพระองค์ตรัสเรียกว่า ‘นิโรธ’ ความดับแห่งธรรมเหล่าไหน พระองค์ตรัส
เรียกว่า ‘นิโรธ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มี
ความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งรูปนั้น เรา
เรียกว่า ‘นิโรธ’
เวทนาไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งเวทนานั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ’
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งสังขารนั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ’
วิญญาณไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งวิญญาณนั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ”

อานันทสูตรที่ 10 จบ
อนิจจวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อนิจจสูตร 2. ทุกขสูตร
3. อนัตตสูตร 4. ยทนิจจสูตร
5. ยังทุกขสูตร 6. ยทนัตตาสูตร
7. สเหตุอนิจจสูตร 8. สเหตุทุกขสูตร
9. สเหตุอนัตตสูตร 10. อานันทสูตร