เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [3. ทิฏฐิสังยุต]
4. จตุตถคมนวรรค 26. อทุกขมสุขีสูตร

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

อทุกขมสุขีสูตรที่ 26 จบ

ในวรรคก่อนมีการตอบปัญหา 18 ข้อ
พึงขยายพระสูตร 26 สูตร ในทุติยคมนวรรคให้พิสดาร
พึงขยายพระสูตร 26 สูตร ในตติยคมนวรรคให้พิสดาร
พึงขยายพระสูตร 26 สูตร ในจตุตถคมนวรรคให้พิสดาร

ทิฏฐิสังยุต จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [4. โอกกันตสังยุต] 1. จักขุสูตร

4. โอกกันตสังยุต
1. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ

[302] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุ (ตา) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตะ (หู) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ฆานะ (จมูก) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ชิวหา (ลิ้น) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
กายไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
มโน (ใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี1
ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำ
กรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควร
ตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า ‘ธัมมานุสารี2 ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’