เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [3. ทิฏฐิสังยุต]
3. ตติยคมนวรรค 26. อทุกขมสุขีสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”

นวาตสูตรที่ 1 จบ

[251 - 274] (พึงเพิ่มสูตรอีก 24 สูตร เข้ามาให้เต็ม เหมือนในทุติยวรรค)

สุขทุกขีสูตรที่ 25 จบ

26. อทุกขมสุขีสูตร
ว่าด้วยอัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุข

[275] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์
และสุขไม่สลายไป”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :313 }