เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [3. ทิฏฐิสังยุต]
1. โสตาปัตติวรรค 12. อนันตวาสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ 6 ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อสัสสตทิฏฐิสูตรที่ 10 จบ

11. อันตวาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกมีที่สุด

[216] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกมีที่สุด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อันตวาสูตรที่ 11 จบ

12. อนันตวาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกไม่มีที่สุด

[217] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :298 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [3. ทิฏฐิสังยุต]
1. โสตาปัตติวรรค 14. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร

ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อนันตวาสูตรที่ 12 จบ

13. ตังชีวังตังสรีรังสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน

[218] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ชีวะ1กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ตังชีวังตังสรีรังสูตรที่ 13 จบ

14. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน

[219] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน”